ไวรัสตับอักเสบเป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อยมากในประเทศไทย โดยไวรัสทั้งหลายเหล่านี้ มีลักษณะการติดต่อซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ล่ะชนิดของไวรัส โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภท ได้แก่

  • ไวรัสตับอักเสบ A
  • ไวรัสตับอักเสบ B
  • ไวรัสตับอักเสบ C
  • ไวรัสตับอักเสบ D
  • ไวรัสตับอักเสบ E

ชนิดของโรคไวรัสตับอักเสบ

สามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ชนิด คือ ตับอักเสบเฉียบพลัน และ ตับอักเสบเรื้อรัง

ตับอักเสบเฉียบพลัน

เป็นไม่นานก็หายเองได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการแค่ 2 – 3 สัปดาห์ ไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยจะหายขาดเป็นปลิดทิ้ง แต่ก็มีบางส่วนที่พัฒนากลายมาเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนบางรายก็ติดเชื้ออย่างรุนแรงจนเสียชีวิต

อาการเบื้องต้น คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ มีอาการวิงเวียน พะอืดพะอม อยากอาเจียน ไม่อยากทานอาหาร บางรายอาจพบผื่นขึ้นตามตัว ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม ร่างกายและดวงตาเหลือง บางรายอาการตัวเหลืองจะหายเองในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ แต่บางรายก็อาจจะใช้เวลานานถึง 2 – 3 เดือนเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะหายได้ ไม่ต้องกังวล

ผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบB มีแค่ 5 – 10 % ที่จะมีโอกาสพัฒนากลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบC มักจะมีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรังร้อยละ 85 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง

โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง จะปรากฏอาการยาวนานเกิน 6 เดือน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • Chronic Persistent เกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีอาการรุนแรงแต่อาจอักเสบมากขึ้นได้
  • Chronic Active Hepatitis ตับจะถูกทำลายจนเกิดอาการตับแข็ง

สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง มักไม่มีอาการเกิดขึ้น และเชื้อก็จะทำลายตับไปเรื่อยๆ จนตับแข็ง และก็จะกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบ

  • เกิดจากการรับเชื้อไวรัสที่มีมากมายหลายชนิด คือ ชนิด A , B , C , D , E
  • ดื่มเครื่องดื่มหรือใช้ดื่มภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วยที่เป็นพาหะ
  • เกิดจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid , phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs เป็นต้น และถ้าหากคุณได้รับ acetaminophen หรือพาราเซ็ตตามอล เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ ในปริมาณที่สูงมากเกินไปก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
  • เกิดจากเชื้อบางตัว เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย เป็นต้น

การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีทางการแพทย์

  • ตรวจดูสภาพตับ
  • ตรวจชิ้นเนื้อของตับ ซึ่งต้องมีการเจาะออกไปเพื่อนำไปตรวจ
  • ตรวจการทำงานของตับจากแพทย์เฉพาะทาง ถ้าแพทย์พบว่ามีอาการผิดปกติ ก็จะขอตรวจเดือนละ 1 ครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อยืนยัน